สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา

Spread the love

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๖/๔๐๒
[๔๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดู
กรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงที่เป็นของไม่เที่ยง
คือ อะไร คือ จักษุ รูป จักษุ วิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นของไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ใจ
ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นของไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของ ไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ
ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุข เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ
สัมผัสเป็นปัจจัยฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งใน
สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัยเมื่อเบื่อ
หน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อ หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ
หยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ฯ
[๔๗] … ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์ … ฯ
[๔๘] … ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา … ฯ—
[๔๙] … ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของควรรู้ยิ่ง … ฯ
[๕๐] … ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของควรกำหนดรู้ … ฯ
[๕๑] … ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ … ฯ
[๕๒] … ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง … ฯ
[๕๓] … ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่งแล้วกำหนดรู้ … ฯ
[๕๔] … ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของถูกประทุษร้าย … ฯ
[๕๕] … ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของถูกเบียดเบียน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง
ทั้งปวงเป็นของถูกเบียดเบียน คืออะไรเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุ
สัมผัส เป็นของถูกเบียดเบียน ฯลฯ ใจธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส ก็ถูกเบียดเบียน
แม้สุขเวทนา ทุกข เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ถูก
เบียดเบียน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม เบื่อหน่าย ทั้งใน
จักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งใน
มโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อม
หลุดพ้นเมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม
จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ฯ