ประวัติ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
ชาติกำเนิด
หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เกิดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2431 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตำบลบ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เป็นบุตรของนายปา และนางปัตต์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดารวมทั้งหมด 7 คน หลวงปู่ตื้อ เป็นลูกคนที่ 5 ในญาติทั้งหมดของหลวงปู่ตื้อ นับเป็นครอบครัวที่ใกล้ชิดกับวัดมาก มีความฝักใฝ่ต่อพระพุทธศาสนา ถ้าลองสังเกตให้ดี ในบรรดาญาติของท่าน ถ้าเป็นชายล้วน แต่ก็มาบวชเป็นพระภิกษุ แต่ถ้าเป็นผู้หญิง ก็ยอมสละบ้านเรือน มาบวชชีพราหมณ์จนหมด
อุปสมบท
ก่อนที่หลวงปู่ตื้อจะบวช ได้มีนิมิตมาบอกท่านมากมาย เช่น ในคืนก่อนที่ท่านจะบวช ท่านได้ฝันถึงชีปะขาว มาถึง 2 คน และท่านฝันอีกว่า ท่านได้เห็นพระภิกษุที่น่าเลื่อมใสอีก 2 รูป ท่านคิดว่าเป็นผู้วิเศษ จึงได้เข้าไปกราบนมัสการ และนิมิตครั้งสุดท้าย มีพระภิกษุท่านได้เข้ามาพูดกับท่านว่า หนูน้อย เจ้ามีกำลังแข็งแรงมาก เท่านั้น พระท่านก็หายไป ท่านก็มีความมั่นใจ เพราะท่านเชื่อว่า วันนี้จะมีเรื่องดี ที่ท่านจะได้บวชตามใจปรารถนา จะได้มีการประพฤติธรรมอย่างจริงจัง และปู่ของท่านก็อยากให้ท่านบวชเป็นพระภิกษุมานานแล้ว ท่านจึงตอบรับคำปู่ทันที และได้เข้ารับพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ. 2452 บวชได้เพียง 19 พรรษา ก็เปลี่ยนมาบวชในนิกายธรรมยุติเมื่อปี พ.ศ. 2471 หลังจากบวชได้ 7 วัน หลวงปู่สิม ก็เข้ามาถามท่านว่า จะสึกไหม ท่านก็บอกว่า รอออกพรรษาก่อน พอถึงช่วงออกพรรษา หลวงปู่สิม ก็ถามอีกว่า จะสึกไหม ท่านก็คิดในใจว่า บวชเพียง 1 พรรษา นั้นยังเรียนพระธรรมไม่ค่อยเพียงพอ ท่านก็บอกว่า ท่านจะบวชไปเรื่อย ๆ ก่อน
ศึกษาธรรม
หลวงปู่ตื้อ ได้เริ่มเรียนศึกษาคำภีร์ มูลกัจจายน์ ในสมัยนั้น โดยมีพระอาจารย์คาน เป็นเจ้าสำนัก หลังจากออกพรรษาได้เพียง 1 พรรษา ท่านก็ได้เดินทางไปศึกษาพระธรรม ที่ วัดโพธิชัย ตำบลท่าอุเทน จังหวัดนครพนม หลวงปู่ท่านได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอยู่รวมระยะเวลา 4 ปี ก็จบหลักสูตรมูลกัจจายน์ จึงได้รับฉายาว่า นักปราชญ์ ด้วยความที่ท่านเป็นคนที่ใฝ่ในการเรียนรู้ อยู่ในสายเลือด ท่านก็ได้ตั้งใจศึกษาต่อไป หลวงปู่ท่านได้เปลี่ยนใจปฏิบัติออกธุดงค์ ปฏิบัติกรรมฐาน เพราะมันเป็นกริยาของท่านอยู่แล้ว และต่อมาท่านก็ได้เดินทางไปประเทศลาว ก็ขยันเดินทางไปศึกษาพระธรรมต่อ ไม่มีวันหยุด และก็ได้ไปหลวงพระบาง และไปเจอชีปะขาวไปดูสมบัติในถ้ำ ชีปะขาวก็สอนว่า ถ้าคนเราพยายามทำสิ่งที่เราต้องกัน สิ่งนั้นจะมาเร็ว และก็ได้เดินทางไปยังประเทศพม่า และก็ได้ไปศึกษาวิชาอาคมกับพระเถระในพม่า และก็ได้เดินทางกลับสู่ประเทศไทย
มรณภาพ
ต่อมาท่านก็มีอาการอาพาธ และถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน รวมสิริอายุได้ 86 ปี บวชพระธรรมนิกาย 19 พรรษา ธรรมยุติได้ 65 พรรษา