ประวัติ พระวัชรปาณีโพธิสัตว์

Spread the love
h6544d50.JPG

พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ หมายถึงพระโพธิสัตว์ผู้ถือสายฟ้า หลักฐานฝ่ายบาลีถือว่าเป็นยักษ์ที่คอยคุ้มครองพระพุทธเจ้า ส่วนทางมหายานถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ชั้นสูงองค์หนึ่ง มักปรากฏคู่กับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์และพระปัทมปาณิโพธิสัตว์

ความเชื่อเกี่ยวกับพระวัชรปาณิอาจวิวัฒนาการมาจากพระอินทร์ในศาสนาพราหมณ์ที่ถือสายฟ้าเช่นกัน และอาจจะพัฒนามาจากความเชื่อเกี่ยวกับพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ ชาวพุทธมหายานถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ที่คุ้มครองนาคที่ควบคุมเมฆฝน และนิยมสร้างรูปของท่านไว้ที่ประตูทาง
เข้าวัดเพื่อขับไล่ความชั่วร้าย

พระวัชรปาณีมีชื่อจีนว่ากิมกังผ่อสัก จัดอยู่ในกลุ่มเจ็ดพระมหาโพธิสัตว์ตามความเชื่อของชาวจีน แต่มีความสำคัญน้อยกว่าพระอวโลกิเตศวรและพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์มาก

รูปแบบต่างๆของพระวัชรปาณี

  • อาจารยวัชรปาณี มือขวาถือวัชระ มือซ้ายถือบ่วง ทรงเครื่องแบบธรรมบาล ล้อมรอบด้วยเปลวไฟ ยืนทิ้งน้ำหนักที่ขาขวา
  • นีลามพรวัชรปาณี มือขวาถือวัชระ มือซ้ายถือกระดิ่งในระดับตัก ทรงเครื่องแบบธรรมบาล ยืนทิ้งน้ำหนักที่ขาขวาบนร่างมนุษย์
  • จัณฑวัชรปาณี มือขวาถือวัชระ มือซ้ายทำปางกรณะ ยืนทิ้งน้ำหนักที่เท้าขวา
  • ภูตฑามรวัชรปาณี มีเศียรเดียว 4 กร สองกรหน้าทำปางภูตฑามรมุทรา สองกรหลังถือวัชระ มือซ้ายทำปางดรรชนีมุทรา สวมมงกุฏทำด้วยกะโหลกมนุษย์ ยืนทิ้งน้ำหนักบนเท้าขวาบนร่างของงู
  • มหาจักรวัชรปาณี มีสามเศียร หกหรือแปดกร ถือวัชระและงู ทรงเครื่องแบบธรรมบาล
  • อจลวัชรปาณี มีสี่เศียรสี่กร สี่เท้า ถือถ้วยกะโหลก วัชระและบ่วง ทรงเครื่องแบบธรรมบาล ล้อมรอบด้วยเปลวไฟ ยืนเหยียบบนร่างอสูร