ขอเชิญชวนท่านทั้งหลายที่มีจิตศรัทธาร่วมบูชาหรือเป็นเจ้าภาพสร้างปู่พญานาค หิรัญนาคราช และปู่พญานาคเหมนาคราช (พญานาคเงิน พญาคทอง)สร้างถวายทางเข้าศาลาปฏิบัติธรรมวัดสร้างใหม่ วัดสามชัยวนาราม ต.สำราญ อ.สามชัย จ.กาฬสินธุ์ ตามกำลังศรัทธา หรือต้องการจองเป็นเจ้าภาพในการบูชา สร้างปู่พญานาคหิรัญนาคราช และปู่พญานาคเหมนาคราช คู่ละ 30,000 บาท หรือตามกำลังศรัทธา สามารถร่วมจองหรือเป็นเจ้าภาพได้ที่ ชื่อบัญชี พระมหาประดุง สมาหิโต เลขที่บัญชี 981-062-1256 ธนาคารกรุงไทย สาขาอำเภอสมเด็จ ติตต่อสอบถามได้ที่ เบอร์ 0844044677 พระมหาประดุง สมาหิโต
พญานาค หมายถึง งูใหญ่ มีหงอน สัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่
ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา และบันไดสายรุ้งสู่จักรวาล
เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ จากการจำศีล บำเพ็ญภาวนา
ศรัทธาในพุทธศาสนา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
พญานาคนั้นเรามักจะพบเห็นเป็นรูปปั้นหน้าโบสถ์
ตามวัดต่างๆ บันไดขึ้นสู่วัดในพุทธศาสนา
ภาพเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง กับศาสนาพุทธอีกมากมาย
และนครวัดมหาปราสาท
ถ้าเราจะสังเกต ก็คงจะเป็นที่ศาสนาพุทธ
ทำไมมีเรื่องราวพญานาคมาเกี่ยวข้องมาก
พญานาค ในตำนานของฝรั่ง หรือชาวตะวันตก
ถือว่าเป็นตัวแทนของกิเลส ความชั่วร้าย
ตรงข้ามกับชาวตะวันออก ที่ถือว่า งูใหญ่ พญานาค มังกร
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พลังอำนาจ
ชาวฮินดูถือว่า พญานาคเป็นผู้ใกล้ชิดกับเทพองค์ต่าง ๆ
เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ เช่น อนันตนาคราช
ที่เป็นบัลลังก์ของพระนารายณ์ตรงกับความเชื่อของลัทธิพราหมณ์
ที่เชื่อว่า นาค เป็นเทพแห่งน้ำ เช่นปีนี้ นาค ให้น้ำ ๑ ตัว
หมายถึงน้ำจะมาก จะท่วมที่ทำการเกษตร ไร่นา
ถ้าปีไหน นาคให้น้ำ ๗ ตัว น้ำจะน้อย
ตัวเลขนาคให้น้ำจะกลับกันกับเหตุการณ์
เนื่องจาก ถ้านาคให้น้ำ ๗ ตัว น้ำจะน้อยเพราะนาคกลืนน้ำไว้
พญานาคที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
พญานาคมีปรากฎหลายแห่งทั้งในพระไตรปิฎก
อันเป็นคัมภีร์สำคัญของพระพุทธศาสนาเถรวาท
และอรรถกถาดังต่อไปนี้
• ในวินัยปิฎก มหาวรรค (๔/๕/๗)
กล่าวถึง มุจจลินทนาคราช ความว่า
ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น
เสด็จจากควงไม้อชปาลนิโครธ เข้าไปยังต้นไม้มุจจลินท์
แล้วประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว
เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้มุจจลินท์ ตลอด ๗ วัน
ครั้งนั้น เมฆใหญ่ในสมัยมิใช่ฤดูกาลตั้งขึ้นแล้ว
ฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาว ตลอด ๗ วัน
มุจจลินทนาคราช ออกจากที่อยู่ของตน
ได้แวดวงพระกายพระผู้มีพระภาคด้วยขนด ๗ รอบ
ได้แผ่พังพานใหญ่เหนือพระเศียรสถิตอยู่ด้วยหวังใจว่า
ความหนาว ความร้อนอย่าเบียดเบียนพระผู้มีพระภาค
สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน
อย่าเบียดเบียนพระผู้มีพระภาค
ครั้นล่วง ๗ วัน มุจจลินทนาคราช รู้ว่า
อากาศปลอดโปร่งปราศจากฝนแล้ว
จึงคลายขนดจากพระกายของพระผู้มีพระภาค
จำแลงรูปของตนเป็นเพศมาณพ
ได้ยืนประคองอัญชลีถวายมนัสการพระผู้มีพระภาค
ทางเบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค